ก.กิตติ
เรื่องพระอภัยมณี คือ
ความรัก
เรื่องพระอภัยมณี คือ
ความรัก เพราะ นิทานคำกลอนเรื่อง พระอภัยมณี
มีคติสอนใจแทรกอยู่ตลอดเรื่อง
ซึ่งล้วนมีที่มาจากประสบการณ์ของสุนทรภู่เป็นส่วนใหญ่ พระอภัยมณีตอน พระอภัยหนีนางผีเสื้อ
สะท้อนให้เห็นถึงอานุภาพของความรักที่อาจทำลายหรือสร้างสรรค์ก็ได้
เช่นรักของนางยักษ์เป็นรักที่เกิดจากความหลง
เป็นความรักที่ต้องการการครอบครองเป็นเจ้าของ มิใช่เป็นรักที่เสียสละ และแสดงให้เห็นว่า บางครั้งเมื่อรักไม่เป็นไปอย่างที่ต้องการ
ความรักอาจแปรเปลี่ยนเป็นความแค้นได้
รักมากก็แค้นมากดังเช่นนางยักษ์ เป็นต้น
ส่วนตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความรักที่สร้างสรรค์ก็มี
ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความรัก เช่นพระอภัยมณีเกี้ยวนางละเวง (จากตอนที่ 36)
ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้เกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา
แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา เชยผกาโกสุมประทุมทอง
แม้เป็นถ้ำอำไพใคร่เป็นหงส์ จะร่อนลงสิงสู่เป็นคู่สอง
ขอติดตามทรามสงวนนวลละออง เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป
เรื่องกาพย์พระไชยสุริยา คือ
ความโลภ
เรื่องกาพย์พระไชยสุริยา
คือ ความโลภ เพราะพระไชยสุริยาเป็นกษัตริย์ครองเมืองสาวัตถีมีมเหสีชื่อสุมาลี
บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์
และเป็นสุขมาช้านานจนกระทั่งเมื่อข้าราชบริพารและผู้มีอำนาจพากันลุ่มหลงในอบายมุข
และเที่ยวข่มเหงราษฎรจนเดือดร้อนไปทั่ว
ในที่สุดน้ำป่าก็ไหลบ่าท่วมเมืองจนผู้คนล้มตายผู้ที่มีชีวิตรอดก็หนีออกจากเมืองไป
ทิ้งสาวัตถีกลายเป็นเมืองร้าง
พระไชยสุริยาพามเหสีและข้าราชบริพารหนีลงเรือสำเภาออกจากเมืองแต่ถูกพายุใหญ่
พัดเรือแตก พระไชยสุริยากับนางสุมาลีว่ายน้ำไปขึ้นฝั่งแล้วรอนแรมไปในป่า พระดาบส
รูปหนึ่งเข้าฌานเห็นพระไชยสุริยากับนางสุมาลีต้องทนทุกข์ทรมานก็เวทนาเพราะเห็นว่าพระไชยสุริยาทรงเป็นกษัตริย์ที่ดี
แต่ประสบเคราะห์กรรมเพราะหลงเชื่อเสนา อำมาตย์
จึงเทศนาโปรดจนทั้งสองศรัทธาและบำเพ็ญธรรมจนได้ไปเกิดบนสวรรค์
เรื่องอภัยนุราช
คือ ความโกรธ
เรื่องพระอภัยนุราช
คือ ความโกรธ เพราะ พระเจ้าอภัยนุราช กษัตริย์เมืองรมเยศ มีพระมเหสีพระนามว่า ทิพมาลี
และพระโอรสพระนามว่า
พระอนันต์ พระธิดาพระนามว่า วรรณนา
พระเจ้าอภัยนุราชไม่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม วันหนึ่งเมื่อเสด็จประพาสป่าได้เผาศาลเทพารักษ์ เทพารักษ์พิโรธ จึงเข้าสิงนางศรีสาหงหญิงอัปลักษณ์ แล้วทำอุบายให้พระอภัยนุราชหลงใหล
พระเจ้าอภัยนุราชตกอยู่ในความลุ่มหลงอย่างรุนแรง
ถึงขนาดควักลูกตารมเหสีตามความประสงค์ของนางศรีหงสา ไม่รู้จักถูกผิด ผลสุดท้ายพระเจ้าอภัยนุราชได้ครองราชย์สมบัติกับนางศรีหงสา
ตัวอย่างบทกลอนจากเรื่อง
พระอภัยนุราช ที่แสดงให้เห็นถึงความโกรธแค้นของพระมเหสีต่อนางศรีสาหง
ที่อวดดีมานั่งแทนที่ตำแหน่งพระมเหสีเอกเทียมพระอภัยนุราช
ได้ฟัง แค้นคั่งดังว่าเลือดตาไหล
เหลือที่จะสะกดอดใจ มันฮึกฮักซักไซ้กลับไล่เลียง
จึงชี้หน้าว่าแน่อีแก่แรด วาสนายาแฝดผูกแผดเสียง
เห็นทรงศักดิ์รักใคร่ใกล้เคียง มาทุ่มเถียงลามเลียมเทียมทัด
กูเป็นพระมเหสีเอก ร่วมที่ภิเษกเอกฉัตร
มึงชาติข้ามานั่งบัลลังก์รัตน์ เท้าแขนแอ่นหยัดดัดทรง
เชื่อดีผีสิงอีกิ้งก่า พูดจาปั้นเจ๋อเห็นเธอหลง
ขึ้นนั่งแท่นแม้นดื้อถือทะนง จะถีบส่งลงให้สาใจมึง
ตัวอย่างบทกลอน
ที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำของนางศรีสาหงหลังจากที่พระมเหสีได้ต่อว่าและทำร้ายนาง
ซึ่งเป็นผลพวงมาจากความโกรธนั่นเอง
บัดนั้น พวกโขลนจ่าว้ารุนหน้าหลัง
ฉุดคร่าพานางไปกลางวัง พระลูกทั้งสองวิ่งเข้าชิงไว้
พวกท้าวนางต่างเหนี่ยวหน่อกษัตริย์ กอดกระหวัดไว้สิ้นดิ้นไม่ไหว
ต่างผูกมัดรัดองค์อรไท ยุดไว้ให้ตึงตรึงตรา
แล้วแขวะควักจักขุเลือดพุพลุ่ง นางสะดุ้งร้องกรีดหวีดผวา
เอาพานทองรองแก้วแววตา นางพญาเสือกซบสลบลง
ฯ
เรื่องลักษณวงศ์
คือ ความหลง
เรื่องลักษณวงศ์ คือ
ความหลง เพราะ เนื้อเรื่องกล่าวถึง ท้าวพรหมทัต มีมเหสี ชื่อ
สุวรรณอำภา และมีพระราชโอรส ชื่อ ลักษณวงศ์
ทรงพามเหสีพร้อมด้วยพระราชโอรสเสด็จประพาสป่า
ได้พบนางยักษ์แปลงเป็นสาวสวยทำเล่ห์กลจนท้าวพรหมทัตลุ่มหลง ต่อมาจึงสั่ง ประหาร
มเหสี และพระโอรส แต่เพชฌฆาตสงสารจึงปล่อยไป นางสุวรรณอำภาถูกพระยายักษ์พาตัวไป
ฤๅษีนำลักษณวงศ์ไปเลี้ยงคู่กับนางทิพย์เกสร
เมื่อโตขึ้นเรียนวิชาจนสำเร็จและได้นางทิพย์เกสรเป็นชายา ได้ฝากนางไว้กับฤๅษี
ออกตามหามารดาจนพบและ กู้บ้านเมืองได้ และได้นางยี่สุ่น เป็นชายา
นางทิพย์เกสรปลอมเป็นพราหมณ์ติดตามมาพบพระลักษณวงศ์ ด้วยความน้อยใจ
จึงไม่แสดงตนให้พระลักษณวงศ์รู้ นางยี่สุ่นริษยาที่สามี
ใส่ใจพราหมณ์มากจึงวางอุบาย กำจัดพราหมณ์เกสร ในที่สุดพราหมณ์ถูกประหาร
ร่างของนางจึงกายเป็นหญิง ลักษณวงศ์จึงเสียใจมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น